วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เครื่องปั้นดินเผาและประโยชน์ที่แตกต่างจากวัสดุอื่น



           


สวัสดีครับ เรื่องนี้ที่ผมจะมานำเสนอท่านในวันนี้ ก็ตามหัวข้อเลยครับ เครื่องปั้นดินเผาและคุณประโยชน์ที่แตกต่างจากวัสดุชนิดอื่น....  ในที่นี้เราจะย้อนไปยุคสมัยเเรกเริ่มของวัสดุชนิดนี้ที่ทำขึ้นมาจากดินเหนียวเป็นวัฒนธรรมที่มีมาอย่างช้านาน ผู้คนทุกบ้านเรือนได้มีไว้ใช้ ไว้โชว์ ซึ่งไม่มีบ้านไหนเลยที่จะไม่มีใช้ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น โอ่ง,ถ้วย,จาน,กระบวย,กระถาง,กรอบรูป และในงานปั้นบางชิ้นถึงกับมีการแกะสลักลวดลายมากมายสวยงาม จนสามารถที่จะใช้เป็นเครื่องบรรณาการได้เลยทีเดียว ..


แต่..ไม่น่าจะเชื่อว่า วัสดุที่เคยมีแพร่หลายในประเทศเรา ผู้คนต่างยื้อแย่งฝึกวิชาปั้น เปิดร้าน ตอนนี้นั้นเหลือน้อยมาก เนื่องจากผู้คนไม่นิยม อาจจะเรื่อง น้ำหนัก หรือ อะไรก็แล้วแต่ ทำให้คนหันไปใช้วัสดุจำพวก พลาสติก,อลูมิเนียม,สแตนเลส ทำให้ช่างไปทำอาชีพอื่นกันหมดเหลือเพียงเล็กน้อยที่จะสืบทอดวัฒนธรรม กิจการครอบครัว ต่อไป แต่จากสภาพที่ผมได้ออกสำรวจที่เกาะเกร็ดแหล่งดินเผา สถานที่นี้จะมีเพียงเด็กรุ่นใหม่ไม่กี่กลุ่มทที่ให้ความสนใจเนื่องจากเด็กสมัยนี้ไม่ค่อยให้ความนิยมกับวัสดุชนิดนี้ เนื่องจากมองว่าโบราณ และค่อยๆดูกลืนวัฒนธรรมตะวันตก นำเหล็ก นำกระเบื้อง และ พลาสติกมาใช้และกลุ่มต่างชาติที่เขาสนใจและรู้วิธีใช้ประโยชน์จากดิน คุณประโยชน์ในการรักษาความร้อน-ความเย็น เช่นน้ำดื่มในตู้เย็นจะเย็นและชื่นใจกว่าน้ำที่ใส่ในภาชนะอื่น และเก็บความร้อนให้กับอาหารได้ดีกว่า (คนสมัยนั้นจะใช้หุงข้าวกินในครอบครัว)ปจุบันจะนิยมตามร้านส้มตำ และของแกะสลัก ที่ไว้โชว์หรือของที่ระลึก คนสมัยนี้หันไปใช้วัสดุ พลาสติก มาเป็นถังรองน้ำ กระถาง เเละเครื่องใช้ต่างๆ อลูมิเนียมมาบบรจุน้ำแทนหน้าที่โอ่ง สแตนเลส เช่น กะละมัง และอื่นๆ เนื่องจากหาซื้อได้ง่ายและราคาไม่แพงมากนัก แต่เราจะไปใช้วัสดุชนิดอื่นทำไม ในเมื่อเรามีวัสดุธรรมชาติของเราให้ใช้ หันมาสนุบสนุน ใช้ของที่เรามี ช่วยเหลือรายได้ให้ชุมชน วัสดุชนิดนี้ ธรรมชาติล้านๆไม่ผ่านเครื่องมือหรือเทคโนโลยีใดๆ อันดินนี้ได้มาจากแหล่งแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อเรานำดินมาโม่ให้เป็นก้อนหรือการนำเข้าเตาเพื่อให้ดินได้รูป เราก็จะตัดมาตามขนาดที่เราต้องการ เเละใช้มือคนนี่และครับปั้นขึ้นรูปมาอย่างที่ต้องการ หากผู้ซื้อต้องการลวยลายก็จะมีการแกะสลัก,ระบายสี เพิ่มความสวยงามตามใจผู้สั่ง

                                                 

                                                   





                                                        บทการสัมภาษณ์+คลิปวิดีโอ



สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
เครื่องปั้นดินเผาและประโยชน์ที่แตกต่างจากวัสดุอื่น โดย คุณ มอส อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International..................

         จากการถอดคลิปสัมภาษณ์ เราก็ได้รู้ถึงวิธีการทำและยังทราบมาว่า กิจการเครื่องปั้นนับวันยิ่งหดตัวลงไปเรื่อยๆเเละจะสูญหายไปในที่สุด เจ้าของกิจการได้ให้สัมภาษณ์ว่า ตนนั้นได้ทำธุรกิจด้านนี้ต่อจากครอบครัวซึ่งทำกันมาหลายยุคสมัยสมัยแล้วและได้ส่งเสริมคนในครอบครัวช่วยกันทำจนกลายเป็นกิจการครอบครัวไปเสียแล้ว รายได้หลักนั้นจะมาจากนักท่องเที่ยว ที่จะซื้อก็เป็นพวกของฝากเล็กๆน้อยๆ แต่ก็ขายได้เรื่อยๆ นอกจากจะเป็นปัญหาเรื่องรายได้บ้างแล้วนับแต่สมัยนั้นจนถึงตอนนี้ดินที่นำมาเผาก็เริ่มหมดลง วัสดุชนิดนี้จะอยู่กับเราไปได้อีกนานแค่ไหน ตอนนี้ก็คงทำได้แค่เพียงติดตาม และคอยสนับสนุนซื้อสิ้นค้าวัสดุชนิดแทนมาใช้แทนวัสดุชนิดอื่น ด้วยคุณสมบัติของดินล้วนๆบางอย่างอาจจะไม่มีอะไรเหมาะเท่านี้อีกแล้ว :)

สรุปเนื้อหา : กิจการเครื่องปั้นดินเผาที่เคยเป็นที่นิยมอย่างมากของคนไทย ถึงตอนนี้แหล่งผลิตของมันช่างน้อยเหลือเกิน นับวันยิ่งหดหายลงไปเนื่องจากไม่มีผู้รับช่วงกิจการต่อจากสาเหตุที่ เข้าไปทำงานในเมืองก็ดี รายได้ก็ดี หรือแม้แต่ค่านิยม หากเราทำการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้กลับมามีความนิยมอีกครั้ง ให้ผู้คนกลับมาให้ความสนใจกับสิ่งดีๆทที่เรามีอยู่แล้ว เลิกมองหาค่านิยมต่างชาติ ซึ่งถ้าว่าในเรื่องราคาแล้วเครื่องปั้นดินเผาประเภทใช้งานนั้นมีราคาที่ถูกกว่าวัสดุชนิดอื่นๆทั้งเรื่องของคุณภาพหากได้ลองใช้จะรู้ว่ามันถนอมอาหารเรามากกว่าวัสดุชนิดอื่นๆ การที่จะกลับมาพัฒนารายได้ให้คนหันมาใช้วัสดุชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็น กระถางต้นไม้ หรือ กระปุก แจกัน นั้นจะเป็นการช่วยอุดหนุนชุมชนให้มีรายได้ที่มั่นคง ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการเปิดกิจการเพิ่มของพ่อค้า-แม่ค้า เป็นทั้งการอนุรักษ์สิ่งดีที่เรามีอยู่และเป็นทั้งการช่วยเหลือให้มีการจ้างงานและนำความรู้เหล่านั้นสอนคนรุ่นต่อๆไปให้คงอยู่คู่กับประเทศชาติเรา

สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งอ้างอิง
1.หนังสือโบราณคดีเครื่องถ้วยสยามแหล่งเตาเมืองน่านและพะเยา
โบราณคดีเครื่องถ้วยสยาม : แหล่งเมืองน่านและตะเยา -- พิมพ์ครั้งที่ ๑ --นครปฐม : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, ๒๕๕๑. ๑๙๔ หน้า
2.หนังสือเครื่องปั้นดินเผานนทบุรี
โคลงการพัฒนาเครือข่ายบริการองค์ความรู้และสารสนเทศดิจิทัลสู่ชุมชน สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,๒๕๕๐ จำนวนพิมพ์ ๒,๐๐๐ เล่ม
3.หนังสือเครื่องปั้นดินเผานนทบุรี (ฉบับ แก้ไข)
โครงการเผยแพร่ผลงานบริการวิชาการแก่สังคม สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช : พิมพ์ครั้งแรก ๒๕๕๐ จำนวน ๒,๐๐๐ เล่ม ปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ ๑ ๒๕๕๓ จำนวน ๓,๐๐๐ เล่ม

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

การโพสต์วีดิโอ ลิงก์ และ การใช้ ครีเอทัฟ คอมมอนส์


  วันนี้แย่จังเลย ฝนตก รถติด อาจารย์ยังจะให้มาถ่ายคลิปอีก ตั้ง1นาที คิดไม่ออกจะ แอ็ค!! ยังไง แกล้งบ้าๆไปสัก1นาที ตามใจอาจารย์เค้าหน่อย ...


สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ACT-ART โดย คุณ มอส อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International.

แนะนำตัวผู้เขียน

                                       แนะนำตัวผู้เขียน

       


           สวัสดัครับ !! ผม นาย ธนณัฏฐ์ มหัทนธเศรษฐ์ บล็อคนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานโปรเจ็ค วิชา คอม.226 ซึ่งจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผาที่ผมได้ทำการสืบค้นมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คุณประโยชน์ หรือ งานศิลป์,แกะสลัก,และเนื้อหาเรื่องราวของเครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้ โดยจากสำรวจพื้นที่ผมได้เริ่มจากที่เกาะเกร็ดเนื่องจากที่นั่นเป็นแหล่งสำคัญของการผลิตวัสดุชนิดนี้ ซึ่งตอนนี้เหลือน้อยเต็มที ผมจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนเข้ามาอ่านบล็อคนี้เพื่อที่เราจะได้รู้ถึงคุณค่าของมันก่อนที่จะหมดสิ้นไป และ ร่วมกันอณุรักษ์ เพื่อที่เราจะได้มีภาชนะที่ผลิตโดยชุมชน และ มีคุณภาพที่ดี ต่อถึงลูกหลานครับ